ที่ตั้ง
ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง
ละติจูด 8° 01′ 12″เหนือ ลองจิจูด 98° 20′ 24″ ตะวันออก
จากสะพานสารสิน ตามเส้นทางเข้าเมือง โดยทางหลวงหมายเลข 402 ประมาณ 27 กิโลเมตร วัดตั้งอยู่ทางขวามือ
ประวัติและความสำคัญ
หลักฐานว่าวัดสร้างขึ้นในสมัยใดยังไม่ชัดเจน แต่อย่างน้อยต้องเป็นตอนต้นรัตนโกสินทร์หรือก่อนหน้านั้น เพราะมีตำนานเกี่ยวพันกับนางเลือดขาวซึ่งเป็นเหตุการณ์สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2526 ทางวัดได้ดำเนินการเปิดกรุพระพุทธรูปในพระอุโบสถก็พบพระพุทธรูปดีบุกซ่อนอยู่ภายในพระประธานและพระอัครสาวกซ้ายขวา รวม 3 องค์ เป็นศิลปะสมัยอยุธยา พระพุทธรูปเหล่านี้ได้นามว่า “พระพุทธสามกษัตริย์” แต่ชาวบ้านเรียกง่าย ๆ ว่า “พระในพุุง” เบืื้องหลังพระประธานยังมีพระพุทธไสยาสน์อีกองค์หนึ่ง เชื่อกันว่ามีพระพุทธรูปอยู่ภายในเช่นกัน แต่ยังไม่มีการพิสูจน์
ส่วนที่เป็นโบราณสถาน ได้แก่ อุโบสถ หอระฆัง และเจดีย์ อุโบสถได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์หลายครั้งด้วยกัน จนถึง พ.ศ. 2454 ครั้นถึง พ.ศ. 2506 เปลี่ยนแปลงหลังคาเป็นกระเบื้องลูกฟูกแทนหลังคาสังกะสี ต่อมา พ.ศ. 2539 สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 12 ภูเก็ต ได้บูรณะอีกครั้งหนึ่ง
กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตามประกาศวันที่ 10 มกราคม 2527
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 101 ตอนที่ 27 วันที่ 1 มีนาคม 2527