, , ,

       วันพุธ เดือน 10 ปีมะเส็ง พ.ศ. 2400 คือวันกำเนิดบุตรชายคนที่ 6 ของพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี หรือคอซู้เจียง  ต้นตระกูล ณ ระนอง และแม่กิ้ม  บิดาให้นามว่า ซิมบี๊  แปลว่า ผู้มีจิตใจงาม

       คอซิมบี๊ไม่ได้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียน  แต่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่บิดาพาติดตามไปในที่ต่าง ๆ  รวมทั้งในประเทศจีน  ทำให้เป็นผู้คล่องทั้งการค้าและสมาคม พูดได้หลายภาษา คือ ภาษาไทย  อังกฤษ  มลายู ฮินดูสตานี  และภาษาจีนอีก 5 ภาษา  ส่วนการเขียนนั้นเพียงเซ็นชื่อได้  แต่มีความสามารถในการจัดระบบความคิด แต่งตำราโดยบอกให้พนักงานเขียนตาม ตำราที่แต่งคือเรื่องเกี่ยวกับการปลูกข้าว การเลือกเมล็ดพันธุ์พืช และการเลี้ยงสัตว์

พ.ศ. 2325 พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี(คอซิมก๊อง) ผู้เป็นพี่ชาย นำคอซิมบี๊ถวายตัวเข้ารับราชการ ได้รับตำแหน่ง เป็นผู้ช่วยราชการเมืองระนอง บรรดาศักดิ์หลวงบริรักษ์โลหวิสัย
พ.ศ. 2427 เป็นผู้ว่าราชการเมืองกระ(กระบุรี) บรรดาศักดิ์พระอัษฎงคตทิศรักษา                                         
พ.ศ. 2433 เป็นผู้ว่าราชการเมืองตรัง บรรดาศักดิ์พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี                                   
พ.ศ. 2444 เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต                                                                                   
พ.ศ. 2454 ได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง

       วันที่ 10 เมษายน 2456 พระยารัษฎาฯ ถึงแก่อนิจกรรมที่บ้านจักรพงษ์ ปีนัง

       เมื่อดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองตรัง พระยารัษฎาฯ ตั้งใจจะทำนุบำรุงเมืองตรังให้เป็นเมืองท่าค้าขาย แต่ที่ตั้งเมืองที่ตำบลควนธานีไม่เหมาะที่จะเป็นท่าเรือใหญ่ เพราะลำน้ำเริ่มตื้นเขิน  จึงคิดสร้างเมืองใหม่ที่กันตัง และดำเนินการย้ายเมืองได้เรียบร้อยใน พ.ศ. 2436
       พระยารัษฎาฯ ดำเนินการพัฒนาเมืองตรังหลายด้าน โดยเฉพาะการทุกให้ครัวเรือนปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ คือ ให้เลี้ยงไก่ครัวเรือนละ 5 แม่ ปลูกพืชผักสวนครัว เช่น พริก ตะไคร้ มะละกอ อย่างละ 5 ต้น ผลิตผลเหลือกินก็ขายได้  จัดตลาดนัดให้ค้าขายสะดวก หาพันธุ์พืชใหม่ ๆ มาให้ปลูกเป็นเพื่อส่งออก ได้แก่ กาแฟ จันทน์เทศ และยางพารา ชักชวนพ่อค้าให้ตั้งบริษัทค้าขายกับต่างประเทศผ่านท่าเรือกันตัง ตัดถนนระหว่างตำบล อำเภอ และเชื่อมกับจังหวัดอื่น ถนนสายสำคัญคือถนนเขาพับผ้าเชื่อมกับจังหวัดพัทลุง
       การส่งเสริมการปลูกยางพาราครั้งแรกที่จังหวัดตรังนับเป็นผลงานสำคัญของพระยารัษฎาฯ เพราะต่อมายางพาราได้แพร่หลายไปทั่วภาคใต้ เป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้สำคัญแก่ประเทศมายาวนาน จนปัจจุบันเป็นพืชที่ปลูกทั่วไปทุกภาค  พระยารัษฎาฯ จึงได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งยางพาราไทย”

, , ,
0 0 votes
Article Rating
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x