, , ,

          ชาวบ้านที่อยู่ริมชายฝั่งทะเลส่วนใหญ่จะเลือกประกอบอาชีพประมงขนาดเล็ก หรือประมงพื้นบ้านเพื่อยังชีพ  โดยใช้เรือขนาดเล็กหรือเรือพื้นบ้านซึ่งปัจจุบันก็จะติดเครื่องยนต์และใช้อวนลาก   ประมงพื้นบ้านถือเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน เพื่อการดำรงชีพของชุมชนในพื้นที่หรือเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ออกไปดักจับสัตว์น้ำทะเล  เพื่อนำสัตว์น้ำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น  ปลาแห้ง กุ้งแห้ง  กะปิ น้ำปลา ปลาหมึก    หอยดอง   ฯลฯ ซึ่งต่างจากอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ประกอบประมงเชิงพาณิชย์

          วัฒนธรรมทางด้านการปรุงอาหารนอกจากจะเน้นรสชาติที่อร่อย กลมกล่อม แล้วยังต้องมีการเน้นการเลือกวัตถุดิบ และเครื่องปรุงที่จะนำมาประกอบ เพื่อให้ผู้ที่รับประทานมีความประทับใจ และสัมผัสถึงรสชาติที่แท้จริงของอาหารในแต่ละอย่าง ซึ่งต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ ในการรังสรรค์ผลงาน รวมถึงการเข้าใจ เข้าถึงสรรพคุณ ประโยชน์ ของวัตถุดิบที่นำมาทำด้วย เนื่องจากวัตถุดิบในแต่ละอย่าง ล้วนมีสรรพคุณ ทั้งชูรสอาหารและปรับสมดุลระบบในร่างกาย การประกอบอาหารในลักษณะนี้เป็นการประกอบอาหารแบบโบราณ ซึ่งมีการตกทอด จากรุ่นสู่รุ่น โดยจะเน้นให้เห็นเด่นชัดในวัฒนธรรมของอาหารจีน อาหารไทย อาหารอินเดีย หรือในแถบเอเชีย

          จังหวัดตรัง นั้นมีวัฒนธรรมทางด้านอาหารเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากได้รับอิทธิพล แบบจีน เห็นได้ชัดจากการ ประกอบอาหารประเภททอด นึ่ง อบ ต้ม ผัด ฯลฯ ซึ่งกรรมวิธีการทำเหล่านี้ ได้ติดตามเข้ามาพร้อมกับ กลุ่มชาวจีน ที่มาตั้งรกรากในพื้นที่บริเวณเมืองตรัง สิ่งสำคัญที่นำติดตัวมาด้วย เพื่อนำมาใช้ในการปรุงอาหารนั้นก็คือ ซีอิ๊ว ซี่อิ้ว หรือสี่เหย่า เป็นเครื่องปรุงอาหารที่ทำจากถั่วเหลือง โดยการนำมาหมักด้วยน้ำเกลือ เป็นเวลานาน และใช้ เชื้อราในการช่วยย่อยถั่วเหลือง เพื่อให้ได้น้ำซีอิ๊ว ที่กลมกล่อม ซึ่งวิธีนี้ ติด การในช่วงราชวงศ์ฮั่น ตอนต้นของชาวจีนโบราณราว 2,000 ปี และใช้การอย่างแพร่หลายที่เอเชียตะวันออก และเอเชียจะวันออกเฉียงใต้ ความพิเศษของซีอิ๊วเมืองตรังนั้น คือการ ใช้การหมักแบบธรรมชาติ โดยใช้สภาพอากาศเป็นตัวกำหนดเวลา โดยอยู่ที่ประมาณ 2-3 เดือน ซึ่งสภาพอากาศของจังหวัดตรัง อยู่ใกล้ทะเล จึงทำให้อากาศค่อนข้างดี และเหมาะกับการหมักซีอิ๊ว ด้วยปัจจัยที่เอื้ออำนวยซึ่งกันและกัน จึงทำให้รสชาติของซีอิ๊วที่เมืองตรังนั้น มีความอร่อย กลมกล่อม ไม่เค็มจนเกินไป และด้วยสังคมที่ดำเนินผสมผสานระหว่างคนจีนกับคนพื้นเมือง การรับประทานซีอิ๊วจึงเป็นที่นิยมบริโภคมากกว่าน้ำปลา เพราะมีความคาวน้อยกว่า ไม่เจือสี และปรุงแต่งกลิ่นใด ๆ ไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ จึงเหมาะกับผู้ที่ทานเจและมังสวิรัติ

          การทำซีอิ๊วแบบเมืองตรัง นอกจากความพิเศษด้าน รสชาติแล้ว สูตรการทำที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ในมณฑลกวางตุ้งของจีน ซึ่งเป็นมณฑล ที่มีความโดดเด่นในเรื่องของการทำซีอิ๊ว และการทำยังคงมีการใช้โอ่งดินในการหมักแบบโบราณ ตามแบบฉบับชาวจีน แตกต่างจากพื้นที่อื่นที่ใช้เครื่องจักร หรือถังพลาสติกในการหมัก

          ด้วยเอกลักษณ์การบริโภคซีอิ๊ว ของชาวตรัง จึงก่อให้เกิดการสืบทอดการทำซีอิ๊วจากรุ่นสู่รุ่น เช่น ซีอิ๊วตราแกะ ซีอิ๊วตราแพะ ซีอิ๊วตรานางฟ้า และอีกหลาย ๆ ยี่ห้อ จนสามารถดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมการบริโภคซีอิ๊วของชาวตรัง ที่พบเห็นได้ตามบ้านเรือน หรือร้านค้า ที่จะมีขวดซีอิ๊วที่ชาวตรังผลิตเองไว้คู่ครัว คู่โต๊ะอาหาร อยู่ประจำบ้าน และด้วยรสชาติที่กลมกล่อมและอร่อย จึงทำให้มีการส่งออกผลิตภัณฑ์ซีอิ๊ว ไปยังพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงและต่างถิ่นหรือภาคอื่น ๆ ของประเทศไทยอีกด้วย    จนเป็นที่รู้จักและเป็นของดีเมืองตรังที่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง ที่เมื่อมาเยือนเมืองตรังแล้ว จะต้องถามหาซีอิ๊วมาลองรับประทาน แล้วก็ยังซื้อกลับบ้านเป็นของฝากติดไม้ติดมือแก่กัลยาณมิตรอีกด้วย หากเดินทางด้วยสายการบินก็สะดวกสามารถบรรจจุกันกระแทกและขวดบรรจุก็เป็นขวดพลาสติกอีกด้วยไม่ต้องกลัวเรื่องความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการขนส่งกันอีกต่อไป     

————————————————————————————————————————–

แหล่งข้อมูล  นายวชิรวิชญ์  ชิดเชื้อ  โรงเรียนวิเชียรมาตุ  อำเภอเมือง  จังหวัดตรัง

, , ,
1 1 vote
Article Rating
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x